การเลือกใช้เกจวัดความดันสุญญากาศ (How to Select a Vacuum Gauge)
 
          เกจวัดความดันสุญญากาศ (Vacuum Gauge) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความดันสุญญากาศ (Vacuum Pressure) หรือความดันที่ต่ำกว่าความดันบรรยากาศปกติ ซึ่งถ้าแบ่งตามเทคนิคการวัดของเกจแล้ว มักมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสมหรือตามระดับความดันสุญญากาศ (Pressure Range) ที่ต้องการวัด เช่น Rough, High หรือ Ultrahigh Vacuum
 
เกจวัดความดันสุญญากาศแบ่งตามเทคนิคการวัด
          1. แบบ Mechanical Gauge จะใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่น (Elastic or Flexible Element) ที่จะสามารถเกิดการเปลี่ยนรูปร่างเมื่อค่าความดันเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกจวัดความดันแบบไดอะแฟรม (Diaphragm Gauge), เกจวัดความดันแบบบูร์ดอง (Bourdon Gauge), และเกจวัดความดันแบบเบลโลว์ (Bellow Gauge) เป็นต้น
          2. แบบ Thermocouple Gauge จะใช้การวัดความดันจากค่าการนำความร้อน (Thermal Conductivity) ของก๊าซที่หลงเหลืออยู่ในเกจ (Gauge Tube) ทำให้ค่าความต้านทานเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยค่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซด้วย เช่น เกจพิรานี (Pirani Gauge)
          3. แบบ Ionization Gauge จะใช้หลักการวัดกระแสไฟฟ้าจากโมเลกุลของก๊าซที่ถูกไอออนไนซ์ในสนามไฟฟ้า และการเพิ่มปริมาณการเกิดประจุด้วยสนามแม่เหล็ก โดยขนาดของกระแสไฟฟ้าที่วัดได้นี้ จะบ่งบอกถึงระดับความดันภายในระบบ เช่น Hot Cathode Ionization Gauges, Cold Cathode Ionization Gauges
 
 
การเลือกใช้เกจวัดความดันสุญญากาศตามระดับความดันสุญญากาศ
ช่วงความดันสุญญากาศ (Vacuum Range) และความต้องการในการใช้งาน (Application) เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้เกจวัดความดันสุญญากาศ
 
 
 
Vacuum Applications in Different Vacuum Ranges
จากรูปเราจะเห็นได้ว่า งานแต่ละประเภทมีการใช้ช่วงความดันสุญญากาศที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรเลือกเกจวัดความดันให้เหมาะสมกับงาน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต หรือทดลอง
 
 
Vacuum Gauge in Different Vacuum Ranges
 
 
Vacuum Gauge for Rough Vacuum
ความดันตั้งแต่ ความดันบรรยากาศ ถึง 10-3 mbar ส่วนใหญ่มักจะใช้เกจการวัดแบบ Mechanical Gauge และแบบ Thermocouple Gauge ซึ่งแต่ละประภทจะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
 
 
 
Vacuum Gauge for High Vacuum
ความดันตั้งแต่  10-3  ถึง 10-8 mbar ส่วนใหญ่มักจะใช้เกจแบบ Ionization Gauge ข้อเปรียบเทียบระหว่าง Hot Filament Ionization Gauge (HFIG, Bayard Alpert or BA) และ Cold Cathode/Inverted Magnetron Gauges (IMG) มีดังนี้
 
 
 
Vacuum Gauge for Ultrahigh Vacuum
ความดันตั้งแต่  10-8  ถึง 10-11 mbar ส่วนใหญ่มักจะใช้เกจแบบ Ionization Gauge เช่นเดียวกัน หรืออาจมีการใช้ Residual Gas Analyzers มาวัดค่าความดันของก๊าซแต่ละชนิด (Partial Pressure) ได้เช่นเดียวกัน โดยมีข้อเปรียบเทียบดังนี้
 
 
 
บทความที่เกี่ยวข้อง (Related Article)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Home   l   About us   l   Products   l   News   l   Promotion   l   Recruitment   l   Contacts    l   Download
Copyright © 2003-2011 www.saengvith200.com All Right Reserved.